เมนู

4. อรรถกถาจตุตถสุตตันตนิเทศ


พระสารีบุตรเถระตั้งสูตรที่ 1 อีก แล้วชี้แจงอินทรีย์ทั้งหลายโดยอาการ
อย่างอื่นอีก. ในบทเหล่านั้น บทว่า กตีหากาเรหิ เกนฏฺเฐน ทฏฺฐพฺพานิ
อินทรีย์ 5 เหล่านั้น พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร ด้วยอรรถว่ากระไร คือ พึงเห็น
ด้วยอาการเท่าไร. บทว่า เกนฏฺเฐน ทฏฺฐพฺพานิ พึงเห็นด้วยอรรถว่า
กระไร พระสารีบุตรเถระถามถึงอาการที่พึงเห็นและอรรถที่พึงเห็น. บทว่า
ฉหากาเรหิ เกนฏฺเฐน ทฏฺฐพฺพานิ คือพึงเห็นด้วยอาการ 6 พึงเห็นด้วย
อรรถกล่าวคืออาการ 6 นั้นนั่นเอง. บทว่า อาธิปเตยฺยฏฺเฐน คือด้วยอรรถว่า
ความเป็นใหญ่. บทว่า อาทิวิโสธนฏฺเฐน เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น คือ
ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระศีลอันเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า
อธิมตฺตฏฺเฐน ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่ง ท่านกล่าวว่า อธิมตฺตํ เพราะ
มีกำลังมีประมาณยิ่ง. บทว่า อธิฏฺฐานฺตเถน คือด้วยอรรถว่าตั้งมั่น. บทว่า
ปริยาทานฏฺเฐน ด้วยอรรถว่าครอบงำ คือด้วยอรรถว่าสิ้นไป. บทว่า
ปติฏฺฐาปกฏฺเฐน คือด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่.

อรรถกถาอธิปไตยัตถนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในอาธิปไตยัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า อสฺ-
สทฺธยํ ปชหโต
แห่งบุคคลผู้สะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคำกล่าวถึงการละ
ธรรมเป็นปฏิปักษ์แห่งอินทรีย์อยู่หนึ่ง ๆ ท่านกล่าวเพื่อความสำเร็จแห่งความ
เป็นใหญ่ในการสำเร็จกิจของการละธรรมเป็นปฏิปักษ์ของตนๆ แม้ในขณะหนึ่ง.
ท่านกล่าวถึงอินทรีย์ 4 ทีเหลือสัมปยุตด้วยลัทธินทรีย์นั้น. พึงทราบ
แม้ท่านกล่าวทำอินทรีย์หนึ่ง ๆ ให้เป็นหน้าที่ในขณะต่าง ๆ กัน แล้วทำอินทรีย์
นั้น ๆ ให้เป็นใหญ่กว่าอินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์นั้น ๆ เเล้วนำอินทรีย์นั้นไป. ส่วน
บทว่า กามจฺฉนฺทํ ปชหโต ของบุคคลผู้ละกามฉันทะเป็นอาทิท่านกล่าวด้วย
สามารถแห่งขณะเดียวกันนั้นเอง.
จบอรรถกถาอธิปไตยัตถนิเทศ

อรรถกถาอาทิวิโสธนัตถนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในอาทิวิโสธนัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสทฺธิย-
สํวรฏฺเฐน สีลวิสุทฺธิ
เป็นศีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าระวังความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา คือ ชื่อว่า ศีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าห้ามความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาโดย
การชำระมลทินของศีลโดยอรรถว่าเว้น.
บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส อาทิวิโสธนา เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น
แห่งสัทธินทรีย์ คือชำระศีลอันเป็นเบื้องต้นด้วยสามารถเป็นอุปนิสัยแห่ง
สัทธินทรีย์. โดยนัยนี้แล พึงทราบอินทรีย์แม้ที่เหลือและอินทรีย์อันเป็นเหตุ
แห่งการสำรวมกามฉันทะเป็นต้น.
จบอรรถกถาอาทิวิโสธนัตถนิเทศ